วันอังคารที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2556

รูปงาน เขียนโปรแกรม ชื่อ ชั้น เลขที่ คำคม

http://img854.imageshack.us/img854/6647/capture20130108202719.png

รหัสควบคุมรูปแบบ(format code)


รหัสควบคุมในภาษา C
     
             รหัสควบคุมรูปแบบ (format code) ใช้สำหรับควบคุมการแสดงผลตัวแปรหรือนิพจน์ออกทางจอภาพโดยรหัสควบคุมรูปแบบในภาษาซีมีอยู่หลายชนิดด้วยกัน การเลือกนำไปใช้งานต้องพิจารณาให้เหมาะสมกับค่าของข้อมูลที่ต้องการแสดงผล ดังแสดงในตาราง

รหัสควบคุมรูปแบบ
ความหมาย
%d
สำหรับการแสดงผลตัวเลขจำนวนเต็ม (int, short)
%ld
สำหรับการแสดงผลตัวเลขจำนวนเต็มแบบยาว (unsigned, long, unsigned long)
%u
สำหรับการแสดงผลตัวเลขจำนวนเต็มบวก (unsigned short, unsigned long)
%o
สำหรับการแสดงผลออกมาในรูปของเลขฐานแปด
%x
สำหรับการสแดงผลออกมาในรูปของเลขฐานสิบหก
%f
สำหรับการแสดงผลตัวเลขทศนิยม (float, double, long double)
%e
สำหรับการแสดงผลตัวเลขทศนิยมออกมาในรูปแบบของ e หรือ ยกกำลัง (float, double, long double)
%c
สำหรับการแสดงผลอักขระ 1 ตัว (char)
%s
สำหรับการแสดงผลข้อความ ( อักขระมากกว่า 1 ตัว)
%p
สำหรับการแสดงผลตัวชี้ตำแหน่ง (pointer)

คำสงวน (Reserved Word)


คำสงวน (Reserved  Word)
         
                  เป็นคำเฉพาะที่ภาษาปาสคาลได้สร้างหรือกำหนดขึ้นมา  เพื่อใช้ในตัวภาษาโดยเฉพาะ  ซึ่งผู้เขียน

โปรแกรมไม่สามารถนำไปใช้เป็นชื่อ (Indentifiers) ได้เช่น  ไม่สามาถนำไปใช้เป็นดตัวแปร (Variables) หรือ

ชื่อโปรแกรมได้ เป็นต้น  ในภาษาปาสคาล  ถ้าเป็นคำสงวน (Reserved  Word) มักนิยมเขียนด้วยตัวอักษรตัว

ใหญ่  เพื่อให้มีความแตกต่างจากชื่อ (Indentifiers) ตัวอื่น ๆ (แต่การเขียนด้วยตัวเล็กก็สามารถเขียนได้โดยไม่

ถือว่าผิดกฏเกณฑ์)



ตัวอย่างของคำสงวน  เช่น

        AND             END             NIL               SET          ARRAY       FILE

     NOT           THEN            BEGIN         FOR             OF                TO            CASE   

        FUNCTION        OR              TYPE        CONST       GOTO         PACKED    UNTIL      DIV                

IF              PROCEDURE       VAR           DO              IN              PROGRAM     WHILE   

     DOWNTO          LABEL           RECORD         WITH        ELSE            MOD             REPEAT

วันจันทร์ที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2555

Flowchart

Flowchart
 
              ผังงาน คือ แผนภาพที่มีการใช้สัญลักษณ์รูปภาพและลูกศรที่แสดงถึงขั้นตอนการทำงานของโปรแกรมหรือระบบทีละขั้นตอน รวมไปถึงทิศทางการไหลของข้อมูลตั้งแต่แรกจนได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการ

   ประโยชน์ของผังงาน
  •  ช่วยลำดับขั้นตอนการทำงานของโปรแกรม และสามารถนำไปเขียนโปรแกรมได้โดยไม่สับสน 
  •  ช่วยในการตรวจสอบ และแก้ไขโปรแกรมได้ง่าย เมื่อเกิดข้อผิดพลาด 
  •  ช่วยให้การดัดแปลง แก้ไข ทำได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว 
  •  ช่วยให้ผู้อื่นสามารถศึกษาการทำงานของโปรแกรมได้อย่างง่าย และรวดเร็วมากขึ้น
 
   วิธีการเขียนผังงานที่ดี

  • ใช้สัญลักษณ์ตามที่กำหนดไว้
  • ใช้ลูกศรแสดงทิศทางการไหลของข้อมูลจากบนลงล่าง หรือจากซ้ายไปขวา
  • คำอธิบายในภาพควรสั้นกะทัดรัด และเข้าใจง่าย
  • ทุกแผนภาพต้องมีลูกศรแสดงทิศทางเข้า - ออก
  • ไม่ควรโยงเส้นเชื่อมผังงานที่อยู่ไกลมาก ๆ ควรใช้สัญลักษณ์จุดเชื่อมต่อแทน
  • ผังงานควรมีการทดสอบความถูกต้องของการทำงานก่อนนำไปเขียนโปรแกรม

    ผังงานโปรแกรม ( Program Flowchart )

    การเขียนผังโปรแกรมจะประกอบไปด้วยการใช้สัญลักษณ์มาตรฐานต่าง ๆ ที่เรียกว่า สัญลักษณ์ ANSI ( American National Standards Institute ) ในการสร้างผังงาน ดังตัวอย่างที่แสดงในรูปต่อไปนี้
ตัวอย่าง Flowchart
 
 

  แสดงการหาค่า x
 
 
 

 
                   การส่งจดหมาย                   
 
 
 
 
 
 
การบังคับหุ่นยนต์
 
 
 


 

วันจันทร์ที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2555

Algorithm

การทอดไข่เจียวให้สุก
วัตถุดิบ : ไข่ไก่   ผลลัพธ์ : ไข่สุก
* ตั้งกระทะ
* ใส่น้ำมัน
* รอน้ำมันร้อน
* ตอกไข่ใส่ถ้วย
* ปรุงรส
* ตีไข่ให้ฟู
* เทลงในกระทะ
* กลับด้าน
* รอไข่สุก
* นำไข่ใส่จาน
* หยุด
การซักผ้าให้สะอาด
วัตถุดิบ : เสื้อผ้า   ผลลัพธ์ : เสื้อผ้าสะอาด
* แยกผ้าสี ผ้าขาว
* เปิดฝาเครื่องซักผ้า
* นำผ้าใส่ถังซัก
* ใส่ผงซักฟอก และน้ำยาปรับผ้านุ่มลงช่อง
* ปิดฝาเครื่องซักผ้า
* เสียบปลั๊กเครื่องซักผ้า
* กดปุ่มตั้งเวลา
* รอเครื่องเตือน
* เอาผ้าออกจากเครื่อง
* นำไปตาก

ประวัติภาษาซี

ภาษาซี
ภาษา ซี (C) เป็นภาษาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ พัฒนาขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2515 (ค.ศ. 1972) โดย เดนนิส ริตชี ที่เบลล์เทเลโฟนแลบอลาทอรีส์ (Bell Telephone Laboratories) เพื่อใช้สร้างระบบปฏิบัติการยูนิกซ์
ถึงแม้ว่าภาษาซีออกแบบขึ้นมาเพื่อสร้างซอฟต์แวร์ระบบ  แต่มันก็สามารถใช้พัฒนาซอฟต์แวร์ประยุกต์ที่เคลื่อนย้ายได้อย่างแพร่หลาย  ภาษาซีเป็นภาษาโปรแกรมที่ได้รับความนิยมมากที่สุดภาษาหนึ่ง มีสถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์เพียงส่วนน้อยเท่านั้นที่ไม่มีตัวแปลโปรแกรมของ ภาษาซี ภาษาซีมีอิทธิพลอย่างมากต่อภาษาโปรแกรมที่นิยมอื่น ๆ ที่เด่นชัดที่สุดก็คือภาษาซีพลัสพลัส ซึ่งเดิมเป็นส่วนขยายของภาษาซี
เดนนิส ริตชี
ผู้คิดค้นภาษาซี

ลักษณะเฉพาะ
             ภาษาซีมีสิ่งอำนวยสำหรับการเขียนโปรแกรมเชิงโครงสร้าง และสามารถกำหนดขอบข่ายตัวแปรและเรียกซ้ำ เช่นเดียวกับภาษาโปรแกรมเชิงเงื่อนไขส่วนใหญ่ในสายตระกูลภาษาอัลกอล ในขณะที่ระบบชนิดตัวแปรแบบอพลวัตช่วยป้องกันการดำเนินการที่ไม่ได้ตั้งใจ รหัสที่ทำงานได้ทั้งหมดในภาษาซีถูกบรรจุอยู่ในฟังก์ชัน พารามิเตอร์ของฟังก์ชันส่งผ่านด้วยค่าของตัวแปรเสมอ ส่วนการส่งผ่านด้วยการอ้างอิงจะถูกจำลองขึ้นโดยการส่งผ่านค่าพอยเตอร์ ชนิดข้อมูลรวมแบบแตกต่าง (struct) ช่วยให้สมาชิกข้อมูลที่เกี่ยวข้องกันสามารถรวมกันและจัดการได้ในหน่วยเดียว รหัสต้นฉบับของภาษาซีเป็นรูปแบบอิสระ ซึ่งใช้อัฒภาค (;) เป็นตัวจบคำสั่ง (มิใช่ตัวแบ่ง)

ภาษาซียังมีลักษณะเฉพาะต่อไปนี้เพิ่มเติม

ตัวแปรอาจถูกซ่อนในบล็อกซ้อนใน
ชนิดตัวแปรไม่เคร่งครัด เช่นข้อมูลตัวอักษรสามารถใช้เป็นจำนวนเต็ม
เข้าถึงหน่วยความจำคอมพิวเตอร์ในระดับต่ำโดยแปลงที่อยู่ในเครื่องด้วยชนิดตัวแปรพอยเตอร์
ฟังก์ชันและพอยเตอร์ข้อมูลรองรับการทำงานในภาวะหลายรูปแบบ (polymorphism)
การกำหนดดัชนีแถวลำดับสามารถทำได้ด้วยวิธีรอง คือนิยามในพจน์ของเลขคณิตพอยเตอร์
ตัวประมวลผลก่อนสำหรับการนิยามแมโคร การรวมไฟล์รหัสต้นฉบับ และการแปลโปรแกรมแบบมีเงื่อนไข
ความสามารถที่ซับซ้อนเช่น ไอ/โอ การจัดการสายอักขระ และฟังก์ชันทางคณิตศาสตร์ รวมอยู่ในไลบรารี
คำหลักที่สงวนไว้มีจำนวนค่อนข้างน้อย
โครงสร้างการเขียน คล้ายภาษาบีมากกว่าภาษาอัลกอล เช่น
ใช้วงเล็บปีกกา { ... } แทนที่จะเป็น begin ... end ในภาษาอัลกอล 60 หรือวงเล็บโค้ง ( ... ) ในภาษาอัลกอล 68
เท่ากับ = ใช้สำหรับกำหนดค่า (คัดลอกข้อมูล) เหมือนภาษาฟอร์แทรน แทนที่จะเป็น := ในภาษาอัลกอล
เท่ากับสองตัว == ใช้สำหรับทดสอบความเท่ากัน แทนที่จะเป็น .EQ. ในภาษาฟอร์แทรนหรือ = ในภาษาเบสิกและภาษาอัลกอล
ตรรกะ "และ" กับ "หรือ" แทนด้วย && กับ || ตามลำดับ แทนที่จะเป็นตัวดำเนินการ ? กับ ? ในภาษาอัลกอล แต่ตัวดำเนินการดังกล่าวจะไม่ประเมินค่าตัวถูกดำเนินการทางขวา ถ้าหากผลลัพธ์จากทางซ้ายสามารถพิจารณาได้แล้ว เหตุการณ์เช่นนี้เรียกว่าการประเมินค่าแบบลัดวงจร (short-circuit evaluation) และตัวดำเนินการดังกล่าวก็มีความหมายต่างจากตัวดำเนินการระดับบิต & กับ |
อย่างไรก็ดี ภาษาซีบนยูนิกซ์รุ่น 6 และ 7 มีการใช้ตัวดำเนินการแบบภาษาอัลกอลคือ /\ กับ \/ (ในแอสกี) แต่ใช้สำหรับหาขอบเขตล่างมากสุด (infimum) กับขอบเขตบนน้อยสุด (supremum) ตามลำดับ
ตัวดำเนินการแบบประสมจำนวนมาก อาทิ +=, -=, *=, ++ ฯลฯ (เทียบเท่ากับตัวดำเนินการในภาษาอัลกอล 68 +:=, -:=, *:=, +:=1)

ประวัติส่วนตัว


ชื่อ นางสาว ฐานิญา   แมดพิมาย  
ชื่อเล่น มีน  กรุ๊ปเลือด B
เกิดวันที่ 1 สิงหาคม 2538 
      การศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ห้อง 15 โรงเรียนบดินทรเดชา(สิงห์ สิงหเสนี)
แผนการเรียน วิทย์ - แพทย์
ศาสนา พุทธ  สัญชาติ ไทย  เชื้อชาติ ไทย
ที่อยู่ปัจจุบัน 419 welplace ซอย รามคำแหง 43/1 แขลงพลับพลา
เขตวังทองหลาง กรุงเทพมหานคร 10310
อาชีพในฝัน  แพทย์กระดูก  สีที่ชอบ เขียว ขาว ดำ
สัตวที่ชอบ แมว สุนัข  อาหารที่ชอบ สุกี้แห้ง ขนมจีน 
วิชาที่ชอบ ชีววิทยา 
คติประจำใจ  ความทรมานที่เกินทน จะหลอมคนให้ทนทาน